จังหวัดมหาสารคาม
|
มหาสารคาม เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เนื้อหา
[ซ่อน]- 1สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- 2ภูมิศาสตร์
- 3ประวัติศาสตร์
- 4รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด
- 5หน่วยการปกครอง
- 6ประชากรในจังหวัด
- 7ระยะทางจากอำเภอเมืองมหาสารคามไปยังอำเภอต่าง ๆ
- 8การคมนาคม
- 9เศรษฐกิจ
- 10ประเพณีและวัฒนธรรม
- 11สถานที่สำคัญ
- 12สถานศึกษา
- 13บุคคลที่มีชื่อเสียงชาวจังหวัดมหาสารคาม
- 14ดูเพิ่ม
- 15แหล่งข้อมูลอื่น
- 16อ้างอิง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- คำขวัญประจำจังหวัด : พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร
- ตราประจำจังหวัด : รูปต้นรังใหญ่ (มาจากคำว่า มหาสาละ ในชื่อจังหวัดมหาสารคาม) กับทุ่ง
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นพฤกษ์หรือต้นมะรุมป่า (Albizia lebbeck)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกลั่นทมขาวหรือดอกจำปาขาว (Plumeria alba)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปูทูลกระหม่อมหรือปูแป้ง (Thaipotamon chulabhorn)
ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
จังหวัดมหาสารคามตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 5,300 ตารางกิโลเมตร (3,307,300 ไร่) ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 475 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้[3]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดกาฬสินธุ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดร้อยเอ็ด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดบุรีรัมย์
ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ[แก้]
โดยทั่วไป จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร ทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นที่สูงในเขตอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอกันทรวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด และค่อย ๆ เทลาดมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้[3]
สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ [3]
- พื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ — ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำ เช่น ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำชี ในบริเวณอำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย และทางตอนใต้ของจังหวัดแถบชายทุ่งกุลาร้องไห้
- พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบสลับกับลูกคลื่นลอนลาด — ตอนเหนือของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นแนวยาวไปทางตะวันออก ถึงอำเภอเมืองมหาสารคาม
- พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดสลับกับพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน — ตอนเหนือและตะวันตกของจังหวัด บริเวณนี้มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด
ลักษณะภูมิอากาศ ในเขตจังหวัดมหาสารคาม เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มีฝนตกสลับกับอากาศแห้ง ในปี พ.ศ. 2555 มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน 118.1 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนมากที่สุดที่ 414.9 มิลลิเมตร ในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม-กรกฎาคม ที่ 27.91 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39.3 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด 15.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ประมาณ 73.55 % (เดือนมกราคม - กรกฎาคม)[3]
ประวัติศาสตร์[แก้]
เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมาหลายร้อยปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปัลลวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี เช่น บริเวณเมืองกันทรวิชัย (โคกพระ) และเมืองนครจำปาศรี โดยพบหลักฐาน เป็นพระยืนกันทรวิชัย พระพิมพ์ดินเผา ตลอดทั้งพระบรมสารีริกธาตุนอกจากนั้นแล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ผ่านทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม
มหาสารคามตั้งอยู่ตอนกลางของภาคอีสาน มีชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยพื้นเมืองพูดภาษาอีสาน ชาวไทยย้อและชาวผู้ไท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี "ฮีตสิบสอง" ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตามแบบของคนอีสานทั่วไป
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยก "บ้านลาดกุดยางใหญ่" ขึ้นเป็น เมืองมหาสารคาม โดยแยกพื้นที่และพลเมืองราวสองพันคนมาจากเมืองร้อยเอ็ด และให้ท้าวมหาชัย (กวด ภวภูตานนท์) เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมือง มีท้าวบัวทองเป็นผู้ช่วยขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด
ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองมหาสารคามขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2412 และร้อยเอ็ดได้แบ่งพลเมืองให้อีกราวเจ็ดพันคน พลเมืองเดิมอพยพมาจากเมืองจำปาศักดิ์ ท้าวมหาชัยและท้าวบัวทองนั้นเป็นหลานโดยตรงของพระยาขัติยวงศา (สีลัง) เจ้าเมืองคนที่ 2 ของเมืองร้อยเอ็ด เดิมกองบัญชาการของเมืองมหาสารคามตั้งอยู่ที่เนินสูงแห่งหนึ่งใกล้กุดนางใย ได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและศาลมเหศักดิ์ขึ้นเป็นที่สักการะของชาวเมือง
เมืองมหาสารคามได้สร้างวัดดอนเมือง ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด รวม 46 คน[4]
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]
ลำดับ | ปี พ.ศ. | พระนาม / ชื่อ เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัด |
---|---|---|
1 | 2408 - 2422 | พระเจริญราชเดช (ท้าวมหาชัย กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) |
2 | 2422 - 2443 | พระเจริญราชเดช (ท้าวไชยวงษา ฮึง ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) |
3 | 2443 - 2444 | อุปฮาด (เถื่อน รักษิกจันทร์) |
4 | 2444 - 2455 | พระเจริญราชเดช (ท้าวโพธิสาร อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) |
5 | 2455 - 2459 | หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ |
6 | 2460 - 2462 | พระยาสารคามคณาพิบาล (พร้อม ณ นคร) |
7 | 2462 - 2466 | พระยาสารคามคณาพิบาล (ทิพย์ โรจน์ประดิษฐ์) |
8 | 2466 - 2468 | พระยาประชากรบริรักษ์ (สาย ปาละนันทน์) |
9 | 2468 - 2474 | พระยาสารคามคณาพิบาล (อนงค์ พยัคฆันต์) |
10 | 2474 - 2476 | พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพย์สาร) |
11 | 2476 - 2482 | หลวงอังคณานุรักษ์ (รอ.สมถวิล เทพรคำ) |
12 | 2482 - 2484 | หลวงประสิทธิ์บุรีรักษ์ (ประสิทธ์ สุปิยังตุ) |
13 | 2484 - 2486 | หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตร) |
14 | 2486 - 2489 | ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี ไมตรีประชารักษ์) |
15 | 2489 - 2490 | ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) |
16 | 2490 - 2493 | ขุนพิศาลาฤษดิ์กรรม (ทองใบ น้อยอรุณ) |
17 | 2493 - 2495 | นายเชื่อม ศิริสนธิ |
18 | 2495 - 2500 | หลวงอนุมัติราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ) |
19 | 2500 - 2501 | ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์) |
20 | 2501 - 2506 | นายนวน มีชำนาญ |
21 | 2506 - 2510 | นายรง ทัศนาญชลี |
22 | 2510 - 2513 | นายเวียง สาครสินธุ์ |
23 | 2513 - 2514 | นายพล จุฑางกูร |
24 | 2514 - 2517 | นายสุจินต์ กิตยารักษ์ |
25 | 2517 - 2519 | นายชำนาญ พจนา |
26 | 2519 - 2522 | นายวุฒินันท์ พงศ์อารยะ |
27 | 2522 - 2523 | นายสมภาพ ศรีวรขาน |
28 | 2523 - 2524 | ร้อยตรีกิตติ ปทุมแก้ว |
29 | 2524 - 2526 | นายธวัช มกรพงศ์ |
30 | 2526 - 2528 | นายสมบูรณ์ พรหมเมศร์ |
31 | 2528 - 2531 | นายไสว พราหมมณี |
32 | 2531 - 2534 | นายจินต์ วิภาตะกลัศ |
33 | 2534 - 2535 | นายวีระชัย แนวบุญเนียร |
34 | 2535 - 2537 | นายภพพล ชีพสุวรรณ |
35 | 2537 - 2538 | นายประภา ยุวานนท์ |
36 | 2538 - 2540 | นายวิชัย ทัศนเศรษฐ |
37 | 2540 - 2542 | นายเกียรติพันธ์ น้อยมณี |
38 | 2542 - 2544 | นางศิริเลิศ เมฆไพบูลย์ |
39 | 2544 - 2546 | นายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ |
40 | 2546 - 2548 | นายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย |
41 | 2548 - 2550 | นายชวน ศิรินันท์พร |
42 | 2550 - 2551 | นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์ |
43 | 2551 - 2552 | นายพินิจ เจริญพานิช |
44 | 2552 - 2554 | นายทองทวี พิมเสน |
45 | 2554 - 2555 | นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน |
46 | 2555 - 2557 | นายนพวัชร สิงห์ศักดา |
47 | 2557 - 2558 | นายชยาวุธ จันทร |
48 | 2558 - 2559 | นายโชคชัย เดชอมรธัญ |
49 | 2559 - ปัจจุบัน | นายเสน่ห์ นนทะโชติ |
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 123 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง และ 18 เทศบาลตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
ประชากรในจังหวัด[แก้]
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ (ปีล่าสุด) | อำเภอในจังหวัดมหาสารคาม | พ.ศ. 2558[5] | พ.ศ. 2557[6] | พ.ศ. 2556[7] | พ.ศ. 2555[8] | พ.ศ. 2554[9] | พ.ศ. 2553[10] | พ.ศ. 2552[11] | พ.ศ. 2551[12] | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เมืองมหาสารคาม | 159,844 | 158,510 | 154,254 | 145,491 | 144,488 | 144,205 | 143,814 | 143,281 | |
2 | โกสุมพิสัย | 120,370 | 120,584 | 120,603 | 120,654 | 120,370 | 120,502 | 120,096 | 119,692 | |
3 | วาปีปทุม | 114,287 | 114,162 | 114,382 | 114,688 | 114,449 | 114,360 | 114,192 | 114,020 | |
4 | บรบือ | 108,875 | 108,544 | 108,525 | 108,674 | 108,337 | 108,446 | 108,231 | 107,888 | |
5 | พยัคฆภูมิพิสัย | 87,713 | 87,691 | 87,753 | 87,767 | 87,450 | 88,672 | 88,334 | 88,124 | |
6 | กันทรวิชัย | 86,420 | 83,951 | 82,964 | 80,615 | 77,921 | 78,051 | 78,275 | 78,616 | |
7 | เชียงยืน | 61,446 | 61,565 | 61,528 | 61,561 | 61,566 | 61,692 | 61,702 | 61,704 | |
8 | นาเชือก | 61,071 | 61,155 | 61,239 | 61,377 | 61,176 | 61,155 | 61,022 | 60,856 | |
9 | นาดูน | 37,279 | 37,224 | 37,294 | 37,299 | 37,139 | 37,064 | 36,910 | 36,682 | |
10 | กุดรัง | 37,162 | 37,105 | 37,010 | 36,896 | 36,816 | 36,807 | 36,703 | 36,443 | |
11 | ยางสีสุราช | 35,330 | 35,333 | 35,339 | 35,391 | 35,435 | 35,463 | 35,444 | 35,356 | |
12 | แกดำ | 29,802 | 29,810 | 29,810 | 29,763 | 29,658 | 29,617 | 29,565 | 29,475 | |
13 | ชื่นชม | 24,997 | 24,954 | 24,943 | 24,973 | 24,931 | 24,877 | 24,802 | 24,717 | |
— | รวม | 964,596 | 960,588 | 955,644 | 945,149 | 939,736 | 940,911 | 939,090 | 936,854 |
ระยะทางจากอำเภอเมืองมหาสารคามไปยังอำเภอต่าง ๆ[แก้]
- อำเภอกันทรวิชัย 18 กิโลเมตร
- อำเภอแกดำ 25 กิโลเมตร
- อำเภอบรบือ 26 กิโลเมตร
- อำเภอโกสุมพิสัย 30 กิโลเมตร
- อำเภอกุดรัง 39 กิโลเมตร
- อำเภอเชียงยืน 39 กิโลเมตร
- อำเภอวาปีปทุม 43 กิโลเมตร
- อำเภอนาเชือก 58 กิโลเมตร
- อำเภอชื่นชม 59 กิโลเมตร
- อำเภอนาดูน 67 กิโลเมตร
- อำเภอยางสีสุราช 74 กิโลเมตร
- อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 85 กิโลเมตร
การคมนาคม[แก้]
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจากไม่เป็นสารานุกรมในส่วนนี้ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
- ทางรถยนต์: ทางที่สะดวกและสั้นที่สุด คือใช้เส้นทางถนนพหลโยธินเข้าสู่สระบุรี และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพ ผ่านนครราชสีมา เมืองพล บ้านไผ่ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนแจ้งสนิท เข้าสู่มหาสารคาม
- ทางรถโดยสารประจำทาง:โดยที่สถานีขนส่งมหาสารคาม ตั้งอยู่บริเวณถนนเลียบคลองสมถวิล
- โดยมีหลายบริษัทที่บริการเที่ยวรถจากรุงเทพฯ สู่ มหาสารคาม เช่น
- บริษัท ขนส่ง จำกัด
- บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด
- เชิดชัยทัวร์
- รุ่งประเสริฐทัวร์
- ชาญทัวร์
- และยังมีหลายบริษัทที่เปิดให้บริการ โดยผ่านมหาสารคาม หลายบริษัท เช่น สหพันธ์ร้อยเอ็ดทัวร์ แสงประทีปทัวร์ ฯลฯ
- ในอำเภอต่างๆ ก็มีรถประจำทางบริการ ได้แก่ พยัคฆภูมิพิสัย วาปีปทุม นาดูน นาเชือก บรบือ กุดรัง และเชียงยืน
- โดยมีหลายบริษัทที่บริการเที่ยวรถจากรุงเทพฯ สู่ มหาสารคาม เช่น
- นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางไปในจังหวัดต่างๆด้วย เช่น เชียงใหม่ สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ เป็นต้น
- ทางรถไฟ: จังหวัดมหาสารคามนั้น ปัจจุบันยังไม่มีทางรถไฟตัดผ่าน อย่างไรก็ตามสามารถใช้บริการได้ที่สถานีรถไฟในจังหวัดขอนแก่น ดังนี้
- สถานีรถไฟขอนแก่น จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 71 กิโลเมตร
- สถานีรถไฟบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 69 กิโลเมตร
- ทางเครื่องบิน: เนื่องจากจังหวัดมหาสารคามไม่มีท่าอากาศยาน แต่สามารถใช้บริการได้ที่ท่าอากาศยานของจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
- ท่าอากาศยานขอนแก่น โดยสายการบินไทย และสายการบินไทยแอร์เอเชีย ให้บริการทุกวัน รวมวันละ 7 เที่ยวบิน
จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 82 กิโลเมตร
- ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด โดยสายการบินนกแอร์ ให้บริการทุกวันๆละ 3 เที่ยวบิน และสายการบินไทยแอร์เอเชีย ให้บริการทุกวันๆละ 2 เที่ยวบิน รวมวันละ 5 เที่ยวบิน
จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 59 กิโลเมตร
- ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ โดยสารการบินนกแอร์ ให้บริการทุกวันๆละ 1 เที่ยวบิน จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 121 กิโลเมตร
- ในอนาคตมีโครงการก่อสร้างรถไฟ สายบ้านไผ่ มหาสารคาม มุกดาหาร
- การคมนาคมภายในจังหวัด
- ในการเดินทางภายในจังหวัดก็มีรถโดยสารประจำทางให้บริการ และรถสองแถว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง สามล้อรับจ้าง และแท็กซี่มิเตอร์
- สถานีขนส่งผู้โดยสารในมหาสารคาม
เศรษฐกิจ[แก้]
ประเพณีและวัฒนธรรม[แก้]
สถานที่สำคัญ[แก้]
โบราณสถาน[แก้]
- ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดมหาสารคาม
พระอารามหลวง[แก้]
- วัดมหาชัย (พระอารามหลวง) พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- อำเภอเมืองมหาสารคาม
- ปรางค์กู่บ้านเขวา
- อ่างเก็บน้ำหนองแวง
- หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง
- แก่งเลิงจาน
- วัดมหาชัย (พระอารามหลวง)
- พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคาม
- ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
- สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
- หอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
- หมู่บ้านปั้นหม้อ
- อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย
สถานที่สำคัญอื่น[แก้]
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม[แก้]
อำเภอกันทรวิชัย[แก้]
อำเภอบรบือ[แก้]
| อำเภอแกดำ[แก้]
อำเภอโกสุมพิสัย[แก้]
อำเภอวาปีปทุม[แก้]
งานกลองยาว
อำเภอนาเชือก[แก้]
อำเภอนาดูน[แก้]
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย[แก้]
|
บทความนี้ต้องการภาพ ไม่แน่ใจ ประกอบเพิ่มบทความ ด้วยเหตุผล: มีโค้ด gallery ว่างเปล่า
ถ้าคุณสามารถจัดหารูปภาพที่อยู่ในนโยบายการใช้ภาพ กรุณาคลิกที่นี่เพื่อทำการอัปโหลดรูปภาพ จากนั้นแก้ไขบทความนี้เพื่อเพิ่มภาพใหม่
ดูเพิ่มที่ วิธีการใส่ภาพ |
สถานศึกษา[แก้]
- ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ หมวดหมู่: สถาบันการศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา ในจังหวัดมหาสารคาม
|
บุคคลที่มีชื่อเสียงชาวจังหวัดมหาสารคาม[แก้]
เกจิ พระอาจารย์
- พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร) ผู้ก่อตั้งพระมหาเจดีย์ชัยมงคล
- พระธรรมเจติยาจารย์ พระราชาคณะชั้นธรรม เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานคร เจ้าคณะภาค ๘ (ธ)
- พระเทพสิทธาจารย์ (น้อย ญาณวุฒโฑ) เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เจ้าอาวาสวัดมหาชัย พระอารามหลวง
- พระสุทธิธรรมโสภณ (สุทธิพงศ์ ชยุตฺตโม) เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม (ธ) เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง
นักการเมือง
- ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- จรัสศรี ทีปิรัช ผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนแรกของประเทศไทย
- ศรีเมือง เจริญศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดมหาสารคาม
- ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- ทองใบ ทองเปาด์ ทนายความ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 และสมาชิกวุฒิสภา
- ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
- วรัญชัย โชคชนะ นักการเมืองไทย และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง อดีตผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายสมัย
- สุชาติ โชคชัยวัฒนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม พรรคภูมิใจไทย
นักวิชาการ
- ภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายกสภาเภสัชกรรม
- เสฐียรพงษ์ วรรณปก นักวิชาการทางด้านพุทธศาสนาและภาษาบาลี ราชบัณฑิตสาขาศาสนศาสตร์
ดารา นักแสดง นักร้อง นักจัดรายการ ผู้สื่อข่าว นางงาม
- ราตรี ศรีวิไล ราชินีหมอลำซิ่ง
- ศักดิ์สยาม เพชรชมภู - นักร้องเพลงลูกทุ่ง
- อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ดารา-นักแสดง
- หยอง ลูกหยี นักแสดงตลก
- รณวีร์ เสรีรัตน์ (นิก THE STAR 2)
- ชาติชาย ปุยเปีย จิตรกร
- ธัญญารัตน์ จิรพัฒน์พากรณ์ (น้องฟิล์ม) มิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส 2007 และ มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน 2007
- แคนดี้ รากแก่น นักจัดรายการวิทยุ มีผลงานเด่นในเพลง U GOT ME
- คริสโตเฟอร์ โจนาธาน รอย เชฟ (คริส THE STAR 9)
- ผา ชนะไดช์ อาร์ สยาม นักร้องลูกทุ่ง
- ศร สินชัย - นักร้องลูกทุ่ง
- ไข่แดง อาร์สยาม นักร้องลูกทุ่ง
- ตั้ม ต้องรัก ประถมบันเทิงศิลป์ อาร์ สยาม นักร้องลูกทุ่ง หมอลำ
- ลำยอง หนองหินห่าว นักร้องลูกทุ่ง หมอลำซิ่ง
- สมบูรณ์ ปากไฟ นักร้องลูกทุ่ง หมอลำซิ่ง
- เดือนเพ็ญ อำนวยพร นักร้องลูกทุ่ง หมอลำ
- ภูมิภาฑิต นิตยารส นักแสดง
- รณชาติ บุตรแสนคม สื่อมวลชน
- สมบัติ สิมหล้า หมอแคน
- วุฒิภัทร โอภาสตระกูล (ตงตง The star 12)
นักกีฬา
- คัพฟ้า บุญมาตุ่น นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ชลทิตย์ จันทคาม นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- เจษฎา พั่วนะคุณมี อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย สโมสรโอสถสภา m150-สระบุรี
- นฤมล ขานอัน นักวอลเลย์บอลอดีตทีมชาติไทย
- ฟ้าลั่น ลูกมิ่งขวัญ นักมวยสากลอาชีพอดีตแชมป์โลก
- เทพฤทธิ์ ศิษย์หมอเส็ง นักมวยสากลอาชีพอดีตแชมป์โลก
- ทรงฤทธิ์ เวียงบาล นักกรีฑาทีมชาติไทย
ดูเพิ่ม[แก้]
- รายชื่อวัดในจังหวัดมหาสารคาม
- รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมหาสารคาม
- รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดมหาสารคาม
- รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดมหาสารคาม
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ทางการ จังหวัดมหาสารคาม
- เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- เว็บไซต์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม[ลิงก์เสีย]
- เว็บไซต์ข้อมูลต่าง ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม[ลิงก์เสีย]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดมหาสารคาม
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น